ดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์ (อังกฤษ: star) คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง
ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก
เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี
หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์
ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว
และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย
เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์
ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์
มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว
ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ
ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น
โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่
หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย
นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี
และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัมความสว่าง
และการเคลื่อนที่ในอวกาศ
มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว
ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่
และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน
แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ
ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม)
ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้
ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก
รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง
เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ
ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน
ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง
เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4
เท่าของดวงอาทิตย์จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี
ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น
ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม
มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว
สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า
ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง
และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร
เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป
ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้
ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง
เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้
ประวัติการสังเกต
ดาวฤกษ์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออารยธรรมต่าง ๆ
ทั่วโลกมานับแต่อดีตกาล โดยเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา
เป็นองค์ประกอบสำคัญในศาสตร์ของการเดินเรือ รวมไปถึงการกำหนดทิศทาง
นักดาราศาสตร์ยุคโบราณส่วนใหญ่เชื่อว่าดาวฤกษ์อยู่นิ่งกับที่บนทรงกลมสวรรค์
และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
จากความเชื่อนี้ทำให้นักดาราศาสตร์จัดกลุ่มดาวฤกษ์เข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาวต่าง ๆ
และใช้กลุ่มดาวเหล่านี้ในการตรวจติดตามการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์
รวมถึงเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ตำแหน่งการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับกลุ่มดาวฤกษ์ที่อยู่เบื้องหลัง
(และเส้นขอบฟ้า) นำมาใช้ในการกำหนดปฏิทินสุริยคติ
ซึ่งสามารถใช้เพื่อกำหนดกิจวัตรในทางการเกษตรได้ ปฏิทินเกรกอเรียน ซึ่งใช้กันอยู่แพร่หลายในโลกปัจจุบัน
จัดเป็นปฏิทินสุริยคติที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของมุมของแกนหมุนของโลกโดยเทียบกับดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ที่สุด
คือ ดวงอาทิตย์
แผนที่ดาวอันแม่นยำที่เก่าแก่ที่สุด
ปรากฏขึ้นในสมัยอียิปต์โบราณ เมื่อราว 1,534 ปีก่อนคริสตกาล นักดาราศาสตร์บาบิโลน
แห่งเมโสโปเตเมียได้รวบรวมบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยรู้จักขึ้นในช่วงปลายคริสต์สหัสวรรษที่
2 ก่อนคริสตกาล ระหว่างสมัยคัสไซท์ (ประมาณ 1531-1155 ปีก่อนคริสตกาล)
แผนที่ดาวฉบับแรกในดาราศาสตร์กรีกสร้างขึ้นโดยอริสทิลลัส เมื่อราว 300 ปีก่อนคริสตกาล
ด้วยความช่วยเหลือของทิโมชาริส แผนที่ดาวของฮิปปาร์คัส (2 ศตวรรษก่อนคริสตกาล)
ปรากฏดาวฤกษ์ 1,020 ดวง และใช้เพื่อรวบรวมแผนที่ดาวของปโตเลมี
ฮิปปาร์คัสเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ค้นพบโนวา (ดาวใหม่)
คนแรกเท่าที่เคยมีการบันทึก ชื่อของกลุ่มดาวและดาวฤกษ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้โดยมากแล้วสืบมาจากดาราศาสตร์กรีก
ถึงแม้จะมีความเชื่อเก่าแก่อยู่ว่าสรวงสวรรค์นั้นไม่เปลี่ยนแปลง
ทว่านักดาราศาสตร์ชาวจีนกลับพบว่ามีดวงดาวใหม่ปรากฏขึ้นได้ในปี ค.ศ. 185
ชาวจีนเป็นพวกแรกที่สังเกตการณ์และบันทึกเกี่ยวกับซูเปอร์โนวา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า
SN 185
เหตุการณ์ของดวงดาวที่สว่างที่สุดเท่าที่เคยบันทึกในประวัติศาสตร์ คือ ซูเปอร์โนวา
SN 1006 ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1006
สังเกตพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ อาลี อิบนุ ริดวาน
และนักดาราศาสตร์ชาวจีนอีกหลายคน ซูเปอร์โนวา SN 1054
ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเนบิวลาปู ถูกสังเกตพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวจีนและชาวอิสลาม
นักดาราศาสตร์ชาวอิสลามในยุคกลางได้ตั้งชื่อภาษาอารบิกให้แก่ดาวฤกษ์หลายดวง
และยังคงมีการใช้ชื่อเหล่านั้นอยู่จนถึงปัจจุบัน
พวกเขายังคิดค้นเครื่องมือวัดทางดาราศาสตร์มากมายซึ่งสามารถคำนวณตำแหน่งของดวงดาวได้
พวกเขายังได้ก่อตั้งสถาบันวิจัยหอดูดาวขนาดใหญ่แห่งแรก
โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำแผนที่ดาว ซิจ
ในหมู่นักดาราศาสตร์เหล่านี้ ตำราดาวฤกษ์ (Book of Fixed Stars; ค.ศ.
964) ถูกเขียนขึ้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวเปอร์เซีย อับดุลราฮ์มาน อัล-ซูฟี ผู้ซึ่งสามารถค้นพบดาวฤกษ์
รวมทั้งกระจุกดาว (รวมทั้ง กระจุกดาวโอมิครอน เวโลรัม และกระจุกดาวบรอกคี)
และดาราจักร (รวมทั้ง ดาราจักรแอนโดรเมดา) เป็นจำนวนมาก ในคริสต์ศตวรรษที่ 11
นักวิชาการผู้รู้รอบด้านชาวเปอร์เซีย อาบู รายัน อัล-บิรูนิ (Abū Rayhān
al-Bīrūnī) ได้พรรณนาลักษณะของดาราจักรทางช้างเผือกว่าประกอบด้วยชิ้นส่วนดาวฤกษ์ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนเมฆจำนวนมาก
และยังระบุละติจูดของดาวฤกษ์หลายดวงได้ในระหว่างปรากฏการณ์จันทรุปราคาในปี ค.ศ.
1019 นักดาราศาสตร์ชาวอันดะลุส อิบันบาจจาห์
เสนอว่าทางช้างเผือกประกอบขึ้นจากดาวฤกษ์จำนวนมากจนดาวดวงหนึ่งเกือบจะสัมผัสกับดาวอีกดวงหนึ่ง
และปรากฏให้เห็นเป็นภาพต่อเนื่องกันด้วยผลของการหักเหจากสารที่อยู่เหนือโลก
เขาอ้างอิงจากหลักฐานการสังเกตจากปรากฏการณ์ดาวล้อมเดือนของดาวพฤหัสบดีและดาวอังคาร
เมื่อราวฮ.ศ. 500 (ค.ศ. 1106/1107)
นักดาราศาสตร์ยุโรปในยุคต้น ๆ อาทิ ไทโค บราเฮ
ได้ค้นพบดาวฤกษ์ใหม่ปรากฏบนท้องฟ้ากลางคืน (ต่อมาเรียกชื่อว่า โนวา) และเสนอว่า
แท้จริงแล้วสรวงสวรรค์ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงมิได้ ปี ค.ศ. 1584 จิออร์ดาโน บรูโน
เสนอแนวคิดว่าดาวฤกษ์ต่าง ๆ ก็เป็นเหมือนดวงอาทิตย์ดวงอื่น ๆ
และอาจมีดาวเคราะห์ของมันเองโคจรอยู่รอบ ๆ
ซึ่งดาวเคราะห์บางดวงอาจมีลักษณะเหมือนโลกก็เป็นได้[23]
แนวคิดทำนองนี้เคยมีการนำเสนอมาก่อนแล้วตั้งแต่สมัยกรีกโบราณโดยนักปรัชญาบางคนเช่น
ดีโมครีตุสและเอพิคุรุส เช่นเดียวกับนักจักรวาลวิทยาชาวอิสลามในยุคกลาง อย่างเช่น
ฟาคีร์ อัลดิน อัลราซี เมื่อล่วงมาถึงศตวรรษต่อมา
แนวคิดที่ว่าดาวฤกษ์เป็นเหมือนกับดวงอาทิตย์ที่อยู่ห่างไกลออกไป
ได้เป็นที่ยอมรับในหมู่นักดาราศาสตร์ ไอแซก นิวตัน
เสนอแนวคิดเพื่ออธิบายว่าเหตุใดดาวฤกษ์จึงไม่มีแรงดึงดูดผูกพันกับระบบสุริยะ
เขาคิดว่าดาวฤกษ์แต่ละดวงกระจัดกระจายกันอยู่ในระยะห่างเท่า ๆ กัน
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนักเทววิทยา ริชาร์ด เบนท์ลีย์
นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เจมิเนียโน มอนทานารี
ได้บันทึกผลสังเกตการเปลี่ยนแปลงความส่องสว่างของดาวอัลกอลในปี ค.ศ. 1667
เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ ตีพิมพ์ผลการวัดความเร็วแนวเล็งของดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้เคียงกันคู่หนึ่ง
เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของดาวนับจากช่วงเวลาที่ทอเลมีกับฮิปปาร์คัส
นักดาราศาสตร์กรีกโบราณ เคยบันทึกเอาไว้
การวัดระยะทางระหว่างดาวโดยตรงครั้งแรกทำโดย ฟรีดดริค เบสเซล ในปี ค.ศ. 1838
โดยใช้วิธีพารัลแลกซ์กับดาว 61 Cygni ซึ่งอยู่ห่างไป 11.4 ปีแสง
การตรวจวัดด้วยวิธีพารัลแลกซ์นี้ช่วยให้มนุษย์ทราบระยะทางอันกว้างใหญ่ระหว่างดวงดาวต่าง
ๆ บนสรวงสวรรค์
วิลเลียม เฮอร์เชล
เป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่พยายามตรวจหาการกระจายตัวของดาวฤกษ์บนท้องฟ้า
ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1780 เขาได้ทำการตรวจวัดดวงดาวในทิศทางต่าง ๆ มากกว่า 600 แบบ
และนับจำนวนดาวฤกษ์ที่มองเห็นในแต่ละทิศทางนั้น ด้วยวิธีนี้เขาพบว่า
จำนวนของดาวฤกษ์เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอไปทางด้านหนึ่งของท้องฟ้า
คือในทิศทางที่มุ่งเข้าสู่ใจกลางของทางช้างเผือก จอห์น เฮอร์เชล
บุตรชายของเขาได้ทำการศึกษาซ้ำเช่นนี้อีกครั้งในเขตซีกโลกใต้
และพบผลลัพธ์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกเหนือจากผลสำเร็จด้านอื่น ๆ แล้ว
วิลเลียม เฮอร์เชลได้รับยกย่องจากผลสังเกตของเขาครั้งนี้ว่า
มีดาวฤกษ์บางดวงไม่ได้อยู่บนแนวเส้นสังเกตอันเดียวกัน
แต่มีดาวอื่นใกล้เคียงซึ่งเป็นระบบดาวคู่
ศาสตร์การศึกษาสเปกโทรสโกปีของดาวฤกษ์เริ่มบุกเบิกโดย
โจเซฟ ฟอน ฟรอนโฮเฟอร์ และแองเจโล เซคคี โดยการเปรียบเทียบสเปกตรัมของดาวฤกษ์เช่น
เปรียบดาวซิริอุสกับดวงอาทิตย์
พวกเขาพบว่ากำลังและจำนวนของเส้นดูดกลืนสเปกตรัมของดาวมีความแตกต่างกัน
คือส่วนของแถบมืดในสเปกตรัมดาวฤกษ์ที่เกิดจากการดูดกลืนคลื่นความถี่เฉพาะอันเป็นผลจากบรรยากาศ
ปี ค.ศ. 1865 เซคคีเริ่มต้นจัดประเภทของดาวฤกษ์ตามลักษณะสเปกตรัมของมันอย่างไรก็ดี
รูปแบบการจัดประเภทดาวฤกษ์ดังที่ใช้กันอยู่ในยุคปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นโดย แอนนี เจ.
แคนนอน ในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1900
การเฝ้าสังเกตดาวคู่เริ่มมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่
19 ในปี ค.ศ. 1834 ฟรีดดริค เบสเซล
ได้เฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงความเร็วแนวเล็งของดาวซิริอุส
และสรุปว่ามันมีดาวคู่ที่ซ่อนตัวอยู่เอ็ดเวิร์ด
พิคเคอริ่งค้นพบการแยกสีของดาวคู่เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1899
ขณะที่กำลังสังเกตการกระจายแสงตามรอบเวลาของดาวมิซาร์ซึ่งมีช่วงเวลา 104 วัน
รายละเอียดการเฝ้าสังเกตระบบดาวคู่อื่น ๆ ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
โดยนักดาราศาสตร์หลายคน เช่น วิลเลียม สตรูฟ และ เอส. ดับเบิลยู เบิร์นแฮม
และทำให้สามารถคำนวณมวลของดาวฤกษ์ได้จากองค์ประกอบวงโคจรของมัน
ความสำเร็จแรกในการคำนวณวงโคจรของระบบดาวคู่จากการสังเกตการณ์ทางกล้องโทรทรรศน์ทำได้โดย
เฟลิกซ์ ซาวารี ในปี ค.ศ. 1827
การศึกษาดาวฤกษ์มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างมากตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่
20 ภาพถ่ายกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่มีค่ายิ่งสำหรับการศึกษาทางดาราศาสตร์ คาร์ล
สวาซชิลด์ค้นพบว่า สีของดาวฤกษ์ซึ่งหมายถึงอุณหภูมิของมันนั้น
สามารถตรวจสอบได้โดยการเปรียบเทียบค่าความส่องสว่างปรากฏกับความสว่างในภาพถ่าย
มีการพัฒนาโฟโตมิเตอร์แบบโฟโตอิเล็กทริกซึ่งช่วยให้การตรวจวัดความสว่างที่ความยาวคลื่นหลาย
ๆ ช่วงทำได้แม่นยำยิ่งขึ้น ปี ค.ศ. 1921 อัลเบิร์ต เอ. มิเชลสัน
ได้ทำการตรวจวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของดาวฤกษ์ได้เป็นครั้งแรกโดยใช้อินเตอร์เฟอโรมิเตอร์ของกล้องโทรทรรศน์ฮุกเกอร์
ผลงานที่สำคัญในการศึกษาลักษณะทางกายภาพของดาวฤกษ์เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษแรก
ๆ ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในปี ค.ศ. 1913
ได้มีการพัฒนาไดอะแกรมของเฮิร์ตสปรัง-รัสเซลล์
ซึ่งช่วยกระตุ้นการศึกษาด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของดาวฤกษ์มากยิ่งขึ้น แบบจำลองเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของดาวฤกษ์และวิวัฒนาการของดาวก็ได้รับการพัฒนาขึ้นจนสำเร็จ
รวมไปถึงการพยายามอธิบายสเปกตรัมของดาวซึ่งสามารถทำได้โดยความก้าวหน้าอย่างยิ่งของควอนตัมฟิสิกส์
ทั้งหมดนี้นำไปสู่การอธิบายองค์ประกอบทางเคมีของชั้นบรรยากาศของดาวฤกษ์อีกด้วย
นอกเหนือจากซูเปอร์โนวาแล้ว
ได้มีการเฝ้าสังเกตดาวฤกษ์เดี่ยวจำนวนมากในดาราจักรต่าง ๆ
ที่อยู่ในกลุ่มท้องถิ่นของทางช้างเผือก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเฝ้าสังเกตทางช้างเผือกในส่วนที่สามารถมองเห็นได้
แต่ยังมีดาวฤกษ์ที่เฝ้าสังเกตบางดวงอยู่ในดาราจักร M100
ในกระจุกดาราจักรหญิงสาว ซึ่งอยู่ห่างจากโลกไปราว 100
ล้านปีแสงเราสามารถที่จะมองเห็นกระจุกดาวภายในกระจุกดาราจักรยวดยิ่งท้องถิ่น
กล้องโทรทรรศน์ในยุคปัจจุบันโดยทั่วไปสามารถใช้สังเกตดาวฤกษ์เดี่ยวจาง ๆ
ในกระจุกดาราจักรท้องถิ่นได้ ดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลที่สุดที่เคยเฝ้าสังเกตอยู่ไกลออกไปนับหลายร้อยล้านปีแสง
อย่างไรก็ดี
ยังไม่เคยมีการเฝ้าสังเกตดาวฤกษ์เดี่ยวหรือกระจุกดาวอื่นใดที่อยู่พ้นจากกระจุกดาราจักรยวดยิ่งของเราออกไปเลย
นอกจากภาพถ่ายจาง ๆ
ภาพเดียวที่แสดงถึงกระจุกดาวขนาดใหญ่อันประกอบด้วยดาวฤกษ์หลายแสนดวง
อยู่ห่างออกไปมากกว่าหนึ่งพันล้านปีแสง
ซึ่งไกลเป็นสิบเท่าของระยะห่างของกระจุกดาวไกลที่สุดที่เคยมีการสังเกตการณ์มา
วิวัฒนาการดาวกฤษ์
ขั้นแรกของการเกิดดาวฤกษ์ คือ
แรงโน้มถ่วงของเมฆฝุ่น และกลุ่มแก๊สขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “เนบิวลา”
ได้หดยุบตัวลง ขณะที่ยุบตัวลงเป็นก้อนกลม
โมเลกุลของแก๊สเข้าใกล้กันมากขึ้น เคลื่อนตัวด้วยความเร็วสูง ความกดดันเพิ่มขึ้น
ทำให้แก๊ส และฝุ่นร้อนขึ้น อุณหภูมิของแก๊สที่ใจกลางสูงขึ้นเรื่อยๆ
เพราะแรงโน้มถ่วงดึงให้ยุบตัวต่อไปอีก ก้อนแก๊สกลายเป็นดาวที่ยังไม่คลอด
หรือที่เรียกว่า “Protostar” จนกระทั่งอุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 15 ล้านองศาเซียลเซียส จึงเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ได้พลังงานมหาศาลออกมา
เป็นการสร้างพลังงานของดาวฤกษ์ ทำให้ดาวเปล่งแสงคลอดออกมาเป็นดาวฤกษ์เกิดใหม่
ปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ดังกล่าว
เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อดาวมีมวลสารมากพอที่จะทำให้ใจกลางมีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านองศาเซียลเซียส หากเนื้อสารน้อยกว่า 1
ใน 20 ของดวงอาทิตย์ ก้อแก๊สจะร้อนขึ้นแต่อุณหภูมิภายในไม่สูงพอจะเกิดปฏิกิริยาได้
ดังนั้น จึงส่องแสงเป็นดาวฤกษ์อย่างสมบูรณ์ไม่ได้ แต่จะกลายเป็น ดาวแคระสีน้ำตาล
เมื่อเกิดเป็นดาวฤกษ์ขึ้นมาแล้วจะมีฝุ่น
และแก๊สที่เหลือล้อมรอบดาวดวงนี้ ฝุ่นและแก๊สเหล่านี้อาจรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์หรือดาวแคระน้ำตาล
และในที่สุดแรงของการแผ่รังสีของดาวฤกษ์ที่ร้อนแรงจะผลักดันแก๊สและฝุ่นที่หลงเหลือให้กระจายออกสู่อวกาศ
ตั้งแต่เริ่มกำเนิดจนถึงวาระสุดท้าย
ดาวฤกษ์ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า วิวัฒนาการเกี่ยวกับดาว ดาวฤกษ์มีวิวัฒนาการอย่างไร
ขึ้นอยู่กับมันมีมวลมากแค่ไหน ดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กกว่าจะมีแสงมากกว่า
ส่องแสงนานกว่าดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่า หนักกว่า ดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็ก เช่น
ดวงอาทิตย์ส่องแสงได้เป็นเวลา 10,000 ล้านปี อย่างไรก็ตาม “จุดจบของดาวฤกษ์จะช้าหรือเร็ว
ขึ้นอยู่กับมวลสารของดาวฤกษ์นั้น”
จากข้อความข้างต้น หลายคนอาจจะยัง งงๆ อยู่
เอาเป็นว่า ดาวฤกษ์ทุกดวงเกิดขึ้นมาจากการยุบตัวลงของเนบิวลา
จะทำให้บริเวณใจกลางมีอุณหภูมิที่สูงมากพอที่จะเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์
ซึ่งเป็นการสร้างพลังงานของดาวฤกษ์
จุดจบของดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์ไม่อาจดำรงอยู่ได้ชั่วนิรันดร์เช่นเดียวกับมนุษย์ที่มีการเกิด
แก่ เจ็บ ตาย
จะมีข้อแตกต่างก็เพียงแต่ดาวฤกษ์นั้นมีชีวิตที่ลิขิตตายตัวไว้แล้วตั้งแต่กำเนิด
เมื่อถึงวันหนึ่งที่แก๊สไฮโดรเจนที่แกนกลางอันเป็นแหล่งพลังงานหลักของดาวฤกษ์มาโดยตลอดหมดลง
ดาวฤกษ์ก็จะต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกระลอกหนึ่ง
ธรรมชาติจะพยายามทุกวิธีทางในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วงชิงความสมดุลย์ภายในกลับมา
แต่ในที่สุดแล้วการเปลี่ยนแปลงจะนำไปสู่การสิ้นอายุขัยที่หลีกหลี่ยงไม่ได้
ในดาวฤกษ์ทุกดวง จะมีความสมดุลกันระหว่างแรงโน้มถ่วงที่พยายามทำให้ดาวแตกสลายและยุบตัวลงเข้าสู่ใจกลางของตัวเอง
กับผลของความร้อนที่พยายามจะทำให้มันแยกเป็นเสี่ยงๆ
ความสมดุลนี้จะอยู่ได้นานตราบเท่าที่มีไฮโดรเจนเหลืออยู่
เมื่อขาดเชื้อเพลิงความสมดุลจะหมดไปและดาวก็จะเริ่มดับลง แรงโน้มถ่วงจะเริ่มมีพลังเหนือ
ผลของความร้อนและดวงดาวก็จะเริ่มแตกสลาย
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าดาวฤกษ์ทุกดวงจะมีจุดจบเช่นนี้ อนาคตของมันขึ้นอยู่กับมวล
ซึงก็คือปริมาณสสารในตัวของมันนั่นเอง
- การสิ้นอายุขัยของดาวฤกษ์มวลน้อย ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย จะมีขนาดเล็ก เช่น ดวงอาทิตย์ มีแสงสว่างไม่มากจะใช้เชื้อเพลิงในอัตราที่น้อย จึงมีช่วงชีวิตยาว จะถึงจุดจบเมื่อเชื้อเพลิงของมันหมดลง ก่อนอื่นมันจะพ่นควันไฟออกมาจนกลายเป็น ดาวยักษ์สีแดง (Red Giant) จากนั้นก็กลืนดาวพุธและดาวศุกร์เข้าไปแล้วระเบิดส่วนเปลือกนอกออกสู่อวกาศแล้วยุบตัวลงเป็นวัตถุขนาดเล็กที่เรียกว่า ดาวแคระขาว (White Dwarf) เต็มไปด้วยธาตุคาร์บอนและมีเนบิวลาดาวเคราะห์ (Planetary Nebula) ซึ่งเป็นซากของส่วนที่เคยเป็นพื้นผิวดาวห้อมล้อมอยู่ ดาวแคระขาวมีขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าโลกของเรา และในที่สุดสีของมันจะจางลงและกลายเป็น ดาวแคระดำ (Black Dwarf) ในที่สุด
- การสิ้นอายุขัยของดาวฤกษ์มวลปานกลาง ดาวฤกษ์ระดับปานกลาง (มวลมากกว่า 2 เท่า แต่น้อยกว่า 8 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) จะมีจุดจบในลักษณะเดียวกับมวลน้อย คือ จบชีวิตลงอย่างสงบและกลายเป็นดาวแคระขาวที่ห้อมล้อมไปด้วยเนบิวลาดาวเคราะห์ สิ่งที่แตกต่างเป็นเพียงผลเนื่องมาจากมวลที่มากกว่าเท่านั้น กล่าวคือ (1) กิจกรรมในทุกช่วงของชีวิตและทุกขั้นตอนของการสิ้นอายุขัยจะดำเนินไปอย่างรวดเร็วกว่าดาวมวลน้อยอย่างมาก และ (2) มวลที่มากขึ้นส่งผลให้ความร้อนและความดันที่แกนกลางมากขึ้นไปด้วย ดาวฤกษ์มวลปานกลางจึงมีมวลพอที่จะกดดันให้แกนกลางมีอุณหภูมิ 600 ล้านเคลวิน เพียงพอสำหรับจุดฟิวชันหลอมรวมคาร์บอนให้เป็นออกซิเจนและนีออนได้ ดาวแระขาวที่เกิดจากดาวมวลปานกลาง จึงเป็นดาวแคระขาวที่เต็มไปด้วยธาตุออกซิเจน ซึ่งต่อมาก็คือแก๊สออกซิเจนที่เราใช้หายใจนั่นเอง
- การสิ้นอายุขัยของดาวฤกษ์มวลมาก ดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ มีมวลมาก สว่างมาก จะใช้เชื้อเพลิงอย่างสิ้นเปลืองในอัตราที่สูงมาก จึงมีช่วงชีวิตที่สั้นกว่า ดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าจะขยายตัวกลายเป็นดาวยักษ์สีแดง เมื่อเชื้อเพลิงหมดใจกลางของมันจะยุบลงส่วนเปลือกนอกจะระเบิดออกกลายเป็น ซุปเปอร์โนวา (Supernova) ซึ่งจะปล่อยพลังงานอย่างมากมายมหาศาล แสงสว่างจากการระเบิดจะพอๆกับกาแล็กซี ตรงใจกลางของมันจะเกิดวัตถุที่มีความหนาแน่น และมืด แรงโน้มถ่วงจะทำให้ดาวยุบตัวลงกลายเป็น ดาวนิวตรอน (Neutron star) หรือบริเวณแปลกประหลาดที่เรียกว่า หลุมดำ (black hole) ซึ่งมีแรงโน้มถ่วงมหาศาล ขนาดที่แสงยังไม่อาจเล็ดลอดออกไปได้ ขณะที่เกิดหลุมดำก็จะมีแรงสะท้อนที่ทำให้ส่วนภายนอกของดาวระเบิดเกิดธาตุหนักต่างๆ เช่น ยูเรเนียม ทองคำ ซึ่งถูกสาดกระจายออกสู่อวกาศกลายเป็น ส่วนประกอบของเนบิวลารุ่นใหม่ และเป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์รุ่นต่อไป
วิวัฒนาการของดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ก็มีลักษณะคล้ายกับดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ
ที่เกิดขึ้นมาจากการหดตัวของเมฆหมอก ของแก๊สธุลี หรือเนบิวลา
อนุภาคตรงบริเวณขอบด้านนอกของกลุ่มหมอกไฟ เริ่มเคลื่อนตัวเข้าสู่ศูนย์กลาง
โดยแรงโน้มถ่วงช่วยดึงดูดเอาอะตอมสู่ภายในมากขึ้นๆ เป็นเวลาประมาณ 10 ล้านปี
เมฆหมอกของแก๊สเริ่มหนาแน่น
และร้อนขึ้นแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขึ้นที่แกนกลาง เนื่องด้วยแรงโน้มถ่วง
ความดันที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้อุณหภูมิของแก๊สสูงขึ้น สูงกว่าที่ขอบนอก
เมื่ออุณหภูมิที่แกนกลางสูงมากขึ้นเป็นหลายแสนองศาเซลเซียส เรียกช่วงนี้ว่า “ดาวฤกษ์ก่อนเกิด
(Protostar)” เมื่อแรงโน้มถ่วงดึงให้แก๊สยุบตัวลงไปอีก
ความดัน ณ
แกนกลางจะสูงขึ้นจนบังคับให้นิวเคลียสของอะตอมเกิดการหลอมตัวขึ้นด้วยวิธีการที่เรียกว่า
“การหลอมนิวเคลียส” ปลดปล่อยพลังงานจำนวนมหาศาล
อุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านเคลวิน ซึ่งเป็นอุณหภูมิสูงมากพอที่จะเกิด “ปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์
(thermonuclear reaction)” ที่อุณหภูมินี้
นิวเคลียสของแก๊สไฮโดรเจนจะหลอมรวมกันเป็นนิวเคลียสฮีเลียม ซึ่งเรียกว่า “ปฏิกิริยาฟิวชัน”
เมื่อเกิดความสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงกับแรงดันของแก๊สร้อน
ทำให้ดวงอาทิตย์เป็นดวงฤกษ์ที่สมบูรณ์
ดวงอาทิตย์จัดว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยถึงมวลปานกลาง
ฉะนั้น อีกประมาณห้าพันล้านปีต่อจากนี้
ดวงอาทิตย์จะหลอมไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียมอย่างมาก เพื่อรักษาอุณหภูมิไว้
ไฟภายในดวงอาทิตย์ต้องเผาเชื้อเพลิงมากขึ้น ทำให้ดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่ขึ้นและส่องสว่างมากขึ้น
ขณะนี้ดวงอาทิตย์ผ่านช่วงชีวิตไปแล้วครั้งหนึ่ง
และจะคงส่องแสงต่อไปโดยไม่เปลี่ยนแปลงอีกเป็นเวลาห้าพันล้านปี
เมื่อไฮโดรเจนทั้งหมดหลอมรวมกันกลายเป็นฮีเลียมหมด ดวงอาทิตย์จะเข้าสู่วัยชรา
เริ่มด้วยการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่รวดเร็ว ขณะที่แก่นกลางเริ่มเสื่อมสลาย
ดวงอาทิตย์จะขยายตัวเป็น 100 เท่าของขนาดปัจจุบัน เมื่อผิวด้านนอกขยายตัว
อุณหภูมิผิวจะลดลง สีจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดง
ดวงอาทิตย์จึงกลายเป็นดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่มาก เรียกว่า “ดาวยักษ์แดง
(red giant)” ทีมีการกลืนดาวพุธ และดาวศุกร์เอาไว้ เป็นช่วงที่พลังงานถูกปล่อยออกจากดวงอาทิตย์ในอัตราที่สูงมาก
จะทำลายสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก ดวงอาทิตย์จะมีชีวิตเป็นดาวยักษ์แดงค่อนข้างสั้น
ที่แกนกลางของดวงอาทิตย์ซึ่งอยู่ในสภาพของดาวยักษ์แดง
ในช่วงท้ายของชีวิตจะไม่เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิภายในไม่สูงพอ
ความดันจึงลดลง
ในเวลาต่อมาแรงโน้มถ่วงจะทำให้แกนกลางของดาวยักษ์แดงยุบตัวลงกลายเป็น “ดาวแคระขาว
(white dwarf)” ที่มีขนาดเพียง 1 ใน 100
ของดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน
ในขณะที่แก่นกลางการยุบตัวมวลของผิวดาวแคระขาวรอบนอกไม่ได้ยุบเข้ามารวมด้วย
จึงมีชั้นของแก๊สหุ้มอยู่โดยรอบ เกิดเป็น “เนบิวลาดาวเคราะห์ (planetary
nebula) ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์เลย
เพียงแต่เมื่อมองด้วยกล้องขนาดเล็กจะเห็นเป็นวงกลมๆ
คล้ายกับดาวเคราะห์ดวงหนึ่งเท่านั้น เนบิวลาดาวเคราะห์จะเรืองแสงอยู่ในระยะแรก
แต่ต่อมาจะเย็นตัวลง เมื่อขยายออกไปเรื่อยๆและจางหายไปในห้วงอวกาศในที่สุด
ดวงอาทิตย์ในสภาพของดาวแคระขาวจะส่องสว่างไปได้อีกนานนับล้านปี
โดยผลิตพลังงานจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์
หลอมรวมกับนิวเคลียสของฮีเลียมอีกครั้งที่แก่นกลาง ซึ่งอุณหภูมิจะสูงขึ้น
เนื่องจากการยุบตัวลงจากแรงโน้มถ่วง
และจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์หลอมรวมนิวเคลียสธาตุไฮโดรเจนที่เกิดในชั้นรอบแก่นของดาวแคระขาว
จะทำให้ดาวแคระขาวมีความสว่างน้อยลงเป็นลำดับ
เพราะอุณหภูมิภายในเริ่มลดลงจนไม่เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์
ในที่สุดก็หยุส่องแสงสว่างกลายเป็น “ดาวแคระดำ (black dwarf)” ซึ่งเป็นก้อนมวลสารที่ไร้ชีวิต
ดาวแคระขาว (White Dwarf)
ดาวแคระขาว คือ
ซากของส่วนที่เคยเป็นแกนกลางของดาวฤกษ์ที่มีมวลเริ่มต้นน้อยกว่า 1.4
เท่าของมวลดวงอาทิตย์ จึงประกอบด้วยธาตุคาร์บอนหรือออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่
ดาวแคระขาวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10,000 กิโลเมตร
ซึ่งไม่ต่างจากโลกของเรามากนัก แต่ก็มีมวลมากได้ถึง 1.4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์
(พึงระลึกว่าดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าโลก 109 เท่า)
ทำให้ดาวแคระขาวมีความหนาแน่นสูงถึง 100 – 1,000 กิโลกรัม /ลูกบาศก์เซนติเมตร
เป็นดาวที่หนาวเย็น และมีขนาดเล็ก (ประมาณโลกของเรา)
จากการคำนวณโดยอาศัยกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum
mechanics) พบว่า ในขณะที่ดาวยุบตัวเนื่องจากแรงโน้มถ่วง
อะตอมของธาตุต่างๆจะถูกอัดให้ใกล้กันมากจนอิเล็กตรอนของแต่ละอะตอมมาอยู่ใกล้กัน
ปัญหามีอยู่ว่าอิเล็กตรอนนั้นมีนิสัยประหลาดอยู่อย่างหนึ่ง คือ
มันไม่ชอบอยู่ใกล้กัน เมื่อมันถูกจับให้มาอยู่ใกล้กันจนเกินไป
มันจะผลักกันทำให้เกิดแรงดันขึ้น ซึ่งเรียกว่า Electron degeneracy
pressure แรงดันนี้เป็นคุณสมบัติทางควอนตัมฟิสิกส์ของอิเล็กตรอน
ไม่ใช่เกิดจากแรผลักของประจุไฟฟ้านั้นมีค่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับแรงบีบอัดเนื่องจากความโน้มถ่วง
แรงดัน Electron degeneracy นี้มีค่ามากเสียจนกระทั่งสามารถหยุดยั้งการยุบตัวของดวงดาวได้
และทำให้เกิดวัตถุท้องฟ้าชนิดใหม่ ซึ่งเรียกกันว่า ดาวแคระขาว
เป็นดาวที่หนาวเย็นและมีขนาดเล็ก (ประมาณโลกของเรา) อย่างไรก็ตามถ้าดาวฤกษ์มีมวลมากกว่า
1.4 เท่าของดวงอาทิตย์ แรงดันจากอิเล็กตรอน
จะไม่สามารถต้านทานการยุบตัวของดาวได้อีกต่อไป
ดาวที่มีมวลมากกว่านี้จะเปลี่ยนสภาพเป็นวัตถุที่แปลกประหลาดยิ่งขึ้น
ซึ่งมวลในระดับนี้ต่อมาเรียกว่า “ขีดจำกัดของจันทรสิกขาร์”
(Chandrasekkhar limit) เพื่อเป็นเกียรติแก่จันทรสิกขาร์นั่นเอง
ดาวนิวตรอน (Neutron Star)
ในกรณีที่ดาวมีมวลมากกว่า Chandrasekkhar
limit แรงดันจากอิเล็กตรอนจะไม่สามารถยับยั้งอิเล็กตรอนของดาวได้อีก
ดาวจะยุบตัวลงจนอัดนิวเคลียสของอะตอมต่างๆเข้าใกล้กัน
เกิดเป็นวัตถุท้องฟ้าชนิดใหม่ ที่ประกอบด้วยอนุภาคนิวตรอน หรืที่รู้จักกันในชื่อ “ดาวนิวตรอน”
ดาวนิวตรอน คือ
ซากแกนของดาวที่มีมวลเริ่มต้นระหว่าง 8 – 18
เท่าของมวลดวงอาทิตย์ที่ยังหลงเหลืออยู่จากการเกิดซุปเปอร์โนวา
ดาวนิวตรอนเป็นดาวที่มีความหนาแน่นสูงยิ่งยวด เพราะเนื้อสารที่มีมวลอาจมากถึง 3
เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ถูกบีบอัดให้อยู่ในดาวที่มีขนาดเพียง 10 – 20
กิโลเมตรเท่านั้น
ในทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์นั้นนิวเคลียสของธาตุต่างๆประกอบด้วยอนุภาคสองชนิด คือ
โปรตอนและนิวตรอน ที่น่าสนใจคือ อนุภาคทั้งสองมีนิสัยไม่ชอบอยู่ใกล้ๆกัน
เหมือนอิเล็กตรอน ดังนั้นเมื่อถูกอัดให้ใกล้กันมากๆ มันจะเกิดเป็น degeneracy
pressure เช่นเดียวกับกรณีของอิเล็กตรอนในดาวแคระขาว
แต่ที่น่าสงสัยยิ่งไปกว่านั้นคือ อนุภาคโปรตอนหายไปไหน
ทำไมดาวทั้งดวงจึงมีแต่นิวตรอน ? โดยธรรมชาตินิวตรอนสามารถสลายตัวให้โปรตอน
อิเล็กตรอนกับนิวทรีโน (neutrino) ในปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Beta –
decay process ซึ่งเป็นการสลายตัวของธาตุกัมมันตภาพรังสี
ซึ่งให้อนุภาคเบต้า (อนุภาคเบต้า ก็คือ อิเล็กตรอน นั่นเอง)
แต่ในดาวนิวตรอนนั้นมีความดันสูงมากจึงทำให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับที่เรียกกันว่า
ปรากฏการณ์ Inverse Beta – Decay คือ อิเล็กตรอนรวมกับโปตอน
เกิดเป็นนิวตรอนและนิวทริโน
ในสภาพปกตินิวตรอนและนิวทริโนที่เกิดขึ้นจะรวมตัวกลับไปเป็นโปรตอนดังเดิมแต่เนื่องจากนิวทริโนมีพลังงานสูง
และเคลื่อที่ด้วยอัตราเร็วเกือบๆเท่าแสง มันจึงหนีออกจากดาวหมด
ปฏิกิริยาย้อยกลับจึงเกิดได้ไม่สมบูรณ์ เป็นสาเหตุให้โปรตอนถูกใช้หมดไป
ดาวทั้งดาวจึงเหลือแต่นิวตรอนในที่สุด
จากการศึกษาโดยนักฟิสิกส์หลายท่านพบว่า
ถ้าดาวมีมวลมากกว่า 3 เท่าของมวลดวงอาทิตย์
แล้วก็จะไม่มีสิ่งใดสามารถหยุดยั้งการยุบตัวของดาวได้ แม้แต่แรงต้านจากนิวตรอน
ดวงดาวจะยุบตัวลงเรื่อยๆ จนกระทั่งกลายเป็นวัตถุประหลาด
ที่มีแรงดึงดูดมากมายมหาศาล ขนาดที่ไม่มีสิ่งใดจะหลุดรอดออกมาได้หากพลัดหลงเข้าไป
เจ้าวัตถุที่ว่านั่น ก็คือ “หลุมดำ” นั่นเอง
หลุมดำ (Black hole)
หลุมดำ
มีชื่อเรียกเช่นนี้เพราะหลุมดำมีแรงโน้มถ่วงสูงมากจนแม้แต่แสงซึ่งเดินทางด้วยความเร็วสูงที่สุด
ก็ไม่สามารถออกจากหลุมดำได้ (เพราะความเร็วหลุดพ้นของหลุมดำสูงกว่าความเร็วแสง)
ดังนั้นจึงไม่มีวัตถุใดๆหลุดออกจากหลุมดำได้เลย
ผู้คนส่วนใหญ่มักมีความเข้มใจที่ผิดว่า
วัตถุที่อยู่รอบๆหลุมดำจะถูกดูดลงไปยังหลุมดำเสมอ
ในความเป็นจริงแล้วหลุมดำมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับดาวมวลมากดวงหนึ่ง
นั่นคือวัตถุที่อยู่ห่างจากหลุมดำมากเพียงพอ
จะโคจรรอบหลุมดำในลักษณะที่ไม่ต่างจากการโคจรรอบดวงดาวนั้นเลย
ตามทฤษฎีฟิสิกส์ “หลุมดำ”
นั้นก็เปรียบได้กับ
ดาวฤกษ์ที่ตายดับแล้ว
ซึ่งดาวที่จะกลายเป็นหลุมดำได้นั้น ต้องเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่ามวลของดวงอาทิตย์หลายๆเท่า
โดยดาวฤกษ์ คือ ดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง ซึ่งเป็นก้อนแก๊สร้อนๆ
ที่ลอยเคว้งคว้างอยู่ในอวกาศ โดยมีไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นองค์ประกอบหลัก
พลังงานที่ได้รับจากดาวฤกษ์นั้น เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ในแกนกลางของดาว
ซึ่งปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ว่านี้นอกจากจะให้แสงสว่างแล้ว
ยังทำให้เกิดแรงดันมหาศาลจากภายในดาว
ซึ่งจะทำหน้าที่พยุงไม่ให้ดาวทั้งดวงเกิดการยุบตัวลง
สาเหตุ
Trip : หลุมดำ
เมื่อพูดถึงหลุมดำหลายคนจะนึกถึงที่ว่างในอวกาศ
แต่ความเป็นจริงแล้วหลุมดำประกอบด้วยสสารที่มีความหนาแน่นสูงมาก มันไม่ใช่ที่ว่าง
หรือ หลุม อาจทำให้เรานึกว่าเป็นทางผ่านสู่สิ่งอื่นหรือช่องว่าง
ซึ่งในสมาการของไอสไตน์บอกว่าหลุมดำไม่ได้เป็นทางผ่านสู่อาณาบริเวณอื่นในอวกาศเหมือนรูหนอน
(Wormhole) แต่ที่ถูก คือ
หลุมดำเป็นสถานที่ที่นอกเหนือเอกภพปกติ มันเป็นหลุมหรือช่องว่างในมิติเอกภพ แต่หลุมดำก็ไม่ได้อยู่นอกเหนือเอกภพซะทีเดียว
มันสามารถติดต่อกับเอกภพภายนอกได้ ผ่าน 3 ทาง คือ
1)
มวลหลุมดำจะสร้างแรงดึงดูดโน้มถ่วงต่อวัตถุรอบข้าง
ก่อนที่มันจะกลายเป็นหลุมดำไปจริงๆ
2)
โมเมนตัมเชิงมุมของหลุมดำก็เหมือนกับก่อนที่สสารจะกลายเป็นหลุมดำ และการหมุนของมันก็มีผลต่ออวกาศนอกขอบสังเกตการณ์
3)
ประจุสุทธิของสสารทั้งหมดในหลุมดำจะเท่ากับประจุก่อนเข้สู่หลุมดำ
ดังนั้น หลุมดำจึงไม่ได้เป็นหลุม
นานมาแล้วที่เชื่อกันว่า หลุมดำเป็นเครื่องดูดฝุ่นอากาศ แต่ด้วยเหตุผล 2 ประการ
ที่ทำให้หลุมดำไม่ได้มีประสิทธิภาพเหมือนเครื่องดูดฝุ่น
ประการแรก หลุมดำไม่ได้เป็นหลุมดวงดาว
มีขนาดเล็กมากและสูบมวลสารได้เพียงเล็กน้อย
แม้ว่าหลุมดำจะมีแรงดึงดูดเอาแก๊สปริมาณมาก แต่หลุมดำก็มีขนาดเก
ดังนั้นแก๊สจะต้องหุนวนรอบๆ อาจเป็นเวลานานหลายปี ก่อนที่จะตกสู่หลุมดำ
ประการที่สอง ทางเดียวที่หลุมดำจะดูดสสารได้
คือ แรงดึงดูดโน้มถ่วง
ปัจจุบัน เรายังไม่สามารถสังเกตหลุมดำได้โดยตรง
เพราะหลุมดำจะไม่ส่องสว่างในช่วงคลื่นใดๆเลย
การศึกษาหลุมดำจงยังคงอยู่ในระดับทฤษฎีทางคณิตศาสตร์
และการหาหลักฐานจากการสังเกตการณ์เบื้องต้นเท่านั้น
วิธีที่นักดาราศาสตร์มักใช้พิจารณาหลุมดำ คือ การตรวจสอบวงโคจร
เพื่อหามวลของดาวในระบบดาวคู่
หรือการวัดการแผ่รังสีเอกซ์จากจานรวมมวลที่อาจเกิดขึ้นรอบๆหลุมดำที่ดูดมวลจากดาดวงอื่นเข้ามา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://piyaphatify.wordpress.com
Ford titanium - Stainless steel -TianiumArt
ตอบลบFord mokume gane titanium titanium titanium. Made with titanium anodizing titanium steel, our Cutlery titanium plate Precision Stainless Steel Cutlery has titanium white wheels the best lines and designs 실시간 바카라 사이트 샤오 미 for your